วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทคัดย่องานวิจัย เรื่องการศึกาสภาพบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งผล

บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาสภาพบรรยากาศในชั้นเรียน ที่ส่งผลต่อการใช้หลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ชื่อผู้วิจัย นายยงยุทธ ศรีสุขใส
การศึกษาสภาพบรรยากาศในชั้นเรียน ที่ส่งผลต่อการใช้หลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ประชากรครู โรงเรียนวัดท่ายาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 50 คน นักเรียน จำนวน 650 คน ห้องเรียนทั้งหมด 25 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดท่ายาง จำนวน 17 คน นักเรียน จำนวน 560 คน ห้องเรียนที่ใช้ในการเก็บรวบรวมบรรยากาศ 17 ห้อง คือ ชั้นประถมศึกษา ปี่ที่ 1- 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ระยะเวลาที่เก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 – 10 กันยายน 2552 และ จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินตนเองและผู้วิจัยประเมินบรรยากาศในห้องเรียนแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ขณะสังเกตในห้องเรียน ที่ผ่านการหาค่าความสอดคล้องความเหมาะสมในการใช้ภาษาแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในส่วนที่เป็นเชิงปริมาณ และค่าร้อยละสำหรับข้อมูลพื้นฐาน ส่วนเชิงคุณภาพเป็นการบรรยายจากการสังเกตและการใช้คำสำคัญในการวิเคราะห์นำมาบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า
ก. เชิงปริมาณ
1. ครูประเมินตนเองเกี่ยวกับบรรยากาศ ในห้องเรียนทั้งด้านกายภาพและจิตวิทยา พบว่า
ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่จัดบรรยากาศในชั้นเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.24 , S.D. =0.70เมื่อพิจารณาด้านจิตวิทยาและการมีปฏิสัมพันธ์รายประเด็นเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ นักเรียนมีความร่าเริงแจ่มใสกล้าพูด กล้าตอบ( =2.53 , S.D. =0.51)กล้าซักถามครู( =2.41 , S.D. =0.51)นักเรียนตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมการเรียนที่ได้รับมอบหมาย( =2.41, S.D. =0.51)กระตือรือร้นที่จะตอบคำถามของครู ขณะสอน( =2.41, S.D. =0.62)
2. ผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเข้าไปสังเกต และบันทึกผลเกี่ยวกับบรรยากาศ ในห้องเรียนทั้ง
ด้านกายภาพและจิตวิทยา พบว่า ผู้วิจัยได้เข้าไปสังเกตการณ์การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับ มาก ( =2.60 , S.D. =0.48)ด้านจิตวิทยาและการมิปฏิสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนกระตือรือร้นที่จะตอบคำถามของครูขณะสอน( =2.31,S.D. =0.60) กล้าซักถามครู ( =2.38,S.D.=0.62) นักเรียนตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมการเรียนที่ได้รับมอบหมาย( =2.38,S.D.= 0.50)
ข. เชิงคุณภาพ
1. ผู้วิจัยสังเกตแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนลักษณะการจัดโต๊ะ- เก้าอี้ของนักเรียน โต๊ะครู การแต่งกายของครูและบุคลิกภาพอื่น ๆ การรักษาความสะอาด การจัดเก็บอุปกรณ์ของใช้ในห้อง แสงสว่าง การระบายอากาศ ความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยของห้อง การใช้สื่อ และอื่นๆมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ลักษณะการจัดโต๊ะ เก้าอี้ของนักเรียน จัด 2 ลักษณะ ได้แก่ จัดแบบหันหน้าเรียงหน้ากระดานไปทางกระดานดำ จำนวน 4 ห้องเรียน จัดนั่งเป็นกลุ่ม 13 ห้องเรียน ส่วนใหญ่จัดให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4- 8 คน กลุ่มที่จัดค่อนข้างถาวร มีการเลือกหัวหน้ากลุ่ม จำนวน 15 ห้อง ที่เลือกถาวร ส่วนอีก 2 ห้องผลัดเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้ากลุ่ม
1.2 การจัดโต๊ะของครู ครูนั่งด้านหน้าชั้นมุมขวาของห้องเรียน จำนวน 10 ห้อง นั่งด้านหลัง จำนวน 7 ห้อง
1.3 การแต่งกายของครู ส่วนใหญ่แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สวยงามเรียบง่าย แต่งกายตามความนิยมหรือตามแฟชั่น ประมาณ 1 ราย การไว้ทรงผมส่วนใหญ่ธรรมดาไม่มีการย้อมสี
1.4 การจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ประจำห้อง เช่น ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้ถูพื้น ถังขยะ ส่วนใหญ่มีจำนวนเพียงพอ แต่การจัดเก็บยังขาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ห้องเรียนที่มีการจัดน้ำดื่มน้ำใช้บริการนักเรียนมี 6 ห้องเรียน นอกนั้นไม่มีกะละมังใส่น้ำใช้ล้างมือ ส่วนน้ำดื่มมีน้อยมาก
1.5 การทำความสะอาดห้องเรียนได้มีการแบ่งเวรรักษาความสะอาดทั้งในห้องเรียนและบริเวณที่รับผิดชอบ พร้อมให้ดูแลมุมต่าง ๆของห้องเรียน แต่ส่วนใหญ่ห้องเรียนยังต้องปรับปรุงด้านความสะอาด รวมทั้งบริเวณที่รับผิดชอบด้วย
1.6 การระบายอากาศห้องเรียนส่วนใหญ่ระบายอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีจำนวน 6ห้องเรียนที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และ 1 ห้องเรียนที่อากาศและแสงสว่างไม่เพียงพอ
1.7 การตกแต่งภายในห้อง ส่วนใหญ่จัดให้มีภาพประกอบการเรียนรู้ของนักเรียนและจัดใหม่มุมต่างๆ เช่น มุมภาษาอังกฤษ มุมคณิตศาสตร์ มุมวิทยาศาสตร์ มุมแสดงผลงานนักเรียน มุมหนังสือที่มีทั้งหนังสือยืมเรียน หนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสือภาพ แต่ป้ายนิเทศส่วนใหญ่จัดไว้แล้วไม่ค่อยได้จัดให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือจัดให้เป็นปัจจุบัน ผลงานนักเรียนได้มีการผลัดเปลี่ยนไปบ้าง
1.8 การใช้สื่อมีการใช้สื่อที่เป็นภาพ หนังสือเรียน กระดานดำ แบบฝึก ใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ การใช้ไอทีมีน้อยมาก และการใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนที่ใช้มาก เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องสมุด การใช้สัญญาณดาวเทียมใช้น้อยมากเช่นกัน
1.9 ความมั่นคงปลอดภัยแข็งแรงของห้อง ห้องเรียนส่วนใหญ่มีประตู บานหน้าต่างไม่ค่อยมั่นคง เพราะอายุการใช้งานนาน บางห้องมีน้ำฝนรั่วลงมา บางห้องช่องแสงที่ใช้กระจก กระจกแตกร้าว บานประตู บานหน้าต่างส่วนใหญ่ไม่มีขอสับ หากลมพัดแรงจะเป็นอันตรายได้ ห้องเรียนชั้นล่าง 4 ห้องเรียนที่อาคารปูพื้นด้วยไม้กระดาฯเมื่อนักเรียนเปลี่ยนห้องหรือช่วงพักระหว่างชั่วโมง นักเรียนเดินเล่นจะส่งเสียงดังรบกวนเป็นอย่างมาก
1.10 ความปลอดภัยจากอุปกรณ์ไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด ยังมีห้องเรียนหลายห้องที่ปลั๊กไป สวิสท์ชำรุด ปลั๊กพัดลม ชำรุดเสี่ยงต่ออันตรายมาก และหลายห้องเรียนมักจะเปิดไฟฟ้า พัดลมทิ้งไว้เมื่อนักเรียนหรือครูไม่อยู่
1.11 การปกครองชั้นเรียน มีการสร้างข้อตกลงร่วมกันโดยเห็นได้จากการเขียนข้อตกลงของห้องไว้ แต่การปฏิบัติตามหรือการลงโทษเมื่อกระทำผิดข้อตกลงยังบอกว่า จะให้ครูตี ซึ่งไม่ใช้การดำเนินการปกครองชั้นเรียนเชิงบวก การทะเลาะวิวาท การเล่นในห้อง การพูดจาไม่ไพเราะ พูดคำหยาบ ยังมีให้เห็นในทุกห้องเรียน
1.12 ผู้วิจัยได้ขอดูสมุดบันทึกและทำแบบฝึกหัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่ทำงานสะอาด มีระเบียบ แต่แบบฝึกหัดนักเรียนทุกคนจะทำจำนวนหน้าเท่ากัน ไม่ว่าเด็กเก่งหรือเด็กเรียนอ่อน การตรวจแบบฝึกหัด ส่วนใหญ่ครูจะให้นักเรียนตรวจกันเอง การแก้ไขการทำงานผิดหรือบกพร่องของนักเรียนครูจะแก้ไขให้น้อยมาก (ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะนักเรียนมาก หรือครูมีภาระมากจึงไม่มีเวลาตรวจการบ้านนักเรียน)
2 การซักถาม นักเรียน ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
2.1 ความสนุกสนาน ชื่นชอบ การจัดกิจกรรมของครูที่สอน นักเรียนส่วนใหญ่ จะชื่นชอบกิจกรรมที่ได้แสดงบทบาทสมมต ได้วาดภาพ ได้ร้องเพลง ได้อ่านหนังสือที่ชื่นชอบ และนักเรียนร้อยละ 99 จะชอบกิจกรรมที่ครูสอน ชอบเพราะครูใจดี
2.2. ความพึงพอใจในพฤติกรรมของครูที่สอน แม้ครูจะดุไปบ้างก็จะชอบ เพราะครูอยากให้นักเรียนดี ครูจะมีเหตุผล และยามว่างจะให้เล่น ไม่เคี่ยวเข็ญให้ทำงาน
2.3 การจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในห้อง คุณครูจะแบ่งเวรให้รับผิดชอบทุกคนเช่น ดูแลทำความสะอาดห้อง การรักษาความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบนอกห้องเรียน การจัดมุมต่างๆ
2.4 การใช้มุมหนังสือและมุมอื่น ๆในห้องเรียน มุมหนังสือส่วนใหญ่จะได้อ่านแต่ไม่สม่ำเสมอ หนังสือยืมเรียนได้ใช้ แต่การหมุนเวียนหนังสือระหว่างห้องหรือจากห้องสมุดมีน้อยมาก หนังสือใหม่ๆ จึงไม่ค่อยได้ยืมอ่าน

ประวัติตอนที่ 1

แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำปี 2553
1. ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อผู้ขอรับรางวัลคุรุสดุดี นายยงยุทธ ศรีสุขใส ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่ายาง วุฒิทางการศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชการศึกษาอบรมในระหว่างปีการศึกษา 2551-2552ได้แก่ การอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาและการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การอบรมพัฒนาผู้บริหารเกี่ยวกับโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงและโรงเรียนต้นแบบในฝัน การบริหารจัดการนักเรียนพิการเรียนร่วม เป็นวิทยากรเกี่ยวกับการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2552 ณ โรงแรมแกรนด์เซาเทิร์น และการพัฒนาและการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เมื่อวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2552
2. ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ปีการศึกษา 2551-2552
2.1 งานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ได้แก่
2.1.1 เป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์เพื่อบรรจุแต่งตั้งพนักงานราชการเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วยตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
2.1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.1.4 เป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์เพื่อจ้างลูกจ้างธุรการตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
2.1.5 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่นครศรีธรรมราช เขต 2
2.1.6 เป็นกรรมการนิเทศติดตามผลในการฝึกซ้อมเพื่อรับการประเมินโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 ในอำเภอพิปูน อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน และอำเภอบางขัน
2.1.7 เป็นกรรมการนิเทศติดตามประเมินผลโรงเรียนอนุบาลต้นแบบในอำเภอนาบอนคือโรงเรียนวัดเทวสิทธิ์ และโรงเรียนวัดเจริญมิตรภาพที่ 72
2.1.8 เป็นกรรมการนิเทศติดตามประเมินผลโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเภทที่1 โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในอำเภอนาบอนคือโรงเรียนนาบอน และอำเภอช้างกลางคือโรงเรียนวัดจันดี โรงเรียนทุ่งใหญ่เฉลิมราชอนุสรณ์รัชมังคลาภิเษก โรงเรียนเสม็ดจวนวิทยาคม และโรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ อำเภอทุ่งใหญ่
2.1.9 เป็นคณะกรรมการบริหารดำเนินการพัฒนาผู้บริหารใน สำนักงานเขตพื้นที่นครศรีธรรมราช เขต 2
2.1.10 เป็นคณะกรรมการดำเนินงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ ฝ่ายประเมินผลและคณะกรรมการดำเนินแข่งขันทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประเภทโครงงานสิ่งประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์ระดับประถมศึกษา
2.2 งานบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนวัดท่ายาง
2.2.1 ได้บริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคล จนได้รับการยอมรับประกาศเป็นโรงเรียนประเภทที่ 1 ผ่านการอบรมและเป็นกรรมการศูนย์เครือข่ายโรงเรียนประเภทที่1 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
2.2.2 ได้บริหารจัดการโรงเรียนด้วยศาสตร์และศิลป์ในการบริหารที่เน้นการเป็นผู้นำทางวิชาการ จนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบหรือแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผ่านการอบรมได้นำความรู้มาใช้เพื่อการจัดทำพัฒนาและใช้หลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายางพุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ติดตามกำกับนิเทศการใช้หลักสูตรและได้วิจัยหลักสูตรโรงเรียนหลายเรื่อง เช่น การศึกษาสภาพบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อการใช้หลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การศึกษาความสมบูรณ์ขององค์ประกอบหลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 โรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การศึกษาความพร้อมและผลในการบริหารจัดการและจัดทำหลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 การศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551และได้นำหลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายางมที่ได้จัดทำขึ้นไปเผยแพร่แก่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเภทที่ 1 เมื่อวันที่ 26 กันยายน2552 ณ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตไสใหญ่อำเภอทุ่งสง นำไปแสดง ณ โรงแรมแรนเซาเทิร์นในการประชุมสัมมนาผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2552 ได้ศึกษาและรายงานผลการใช้หลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ พร้อมกับได้เผยแพร่ความรู้แก่โรงเรียนอื่น ๆโดยจัดอบรมเกี่ยวกับการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ณ โรงเรียนวัดท่ายาง เมื่อวันที่5-6 พฤศจิกายน 2552 นำหลักสูตรโรงเรียนวัดท่ายาง พุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551ไปจัดนิทรรศการในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมทวินโลตัส มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
2.2.3 ได้บริหารจัดการโรงเรียนวัดท่ายางตั้งแต่ปี 2549 ในการเป็นโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 ด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ จัดทำคู่มือการดำเนินงานเป็นแผนยุทธ์ศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการประจำปีและแผนผังรับการตรวจ นำไปใช้และได้รับการประเมินจากศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 นำมาพัฒนาโรงเรียนตามคู่มือ ดังกล่าวจนได้รับการตรวจเยี่ยมและประเมินจากคณะกรรมการตรวจเยี่ยมและประเมินรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบในฝันเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2551และได้นำคู่มือดำเนินงานทั้งสามเล่มไปเผยแพร่แก่ โรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ที่ยังไม่ได้ผ่านการประเมินได้แก่โรงเรียนบ้านคลองเสาเหนือ โรงเรียนวัดโคกหาด โรงเรียนจุฬาภรณ์พิทยาคารและโรงเรียนวัดมณีเจริญมิตรภาพ ที่ 71 และโรงเรียนอื่นๆที่มาศึกษาดูงานจนทุกโรงเรียนผ่านการประเมินและรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบในฝันรุ่นที่ 2 ได้ส่งรายงานการพัฒนาโรงเรียนดีใกล้บ้านโดยใช้คู่มือ การดำเนินงานด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ไปเผยแพร่และได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทนวัตกรรมการบริหารในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่17-19 ธันวาคม 2552
3. การปฏิบัติงานตามภารกิจที่จะนำไปสู่ผลงานทางวิชาการ
จากการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบหรือแกนนำในการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านชายคลอง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก และโรงเรียนวัดท่ายาง ซึ่งโรงเรียนทั้ง 3 จะต้องเป็นแหล่งวิจัยด้านการพัฒนาและการใช้หลักสูตร เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่นๆด้านการจัดทำ พัฒนาและใช้หลักสูตรตลอดจนการนำร่องการใช้หลักสูตร จึงต้องวิจัยเกี่ยวกับการทำ การใช้ การพัฒนาหลักสูตรทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ
4. ผลงานทางวิชาการ/วิทยานิพนธ์/คณะทำงานวิจัยในโครงการต่าง ๆ (ถ้ามี)
วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช 2546 รายงานผลการพัฒนาโรงเรียนดีใกล้บ้าน(หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันรุ่นที่2 )โดยใช้คู่มือการดำเนินงานด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ 2552
ลงชื่อ ผู้รับรอง